วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เบญจศีล



เบญจศีล

       ในการอยู่ร่วมกันในสังคมนั้น จำเป็นที่แต่ละคนซึ่งเป็นสมาชิกของสังคมจะต้องทำตนให้เป็นคนเต็มคน ที่เรียกว่าเป็นมนุษย์หรือเป็นคนเพื่อให้การอยู่ร่วมกันดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย มีความสงบสุขเกิดศานติสุข ไม่มีเวรภัยต่อกันและกันหลักธรรมที่จะทำคนให้เป็นให้เต็มคนอันยังผลให้การอยู่ร่วมกันมีความสุขมีความสงบสุขนั้นก็คือ เบญจศีลเบญจธรรม อันได้แก่


๑.ปาณาติปาตา เวรมณี เจตนา เป็นเครืองงดเว้นจากการฆ่า การเบียดเบียนการทำร้ายร่างกายคนและสัตว์ แล้วมีจิตใจประกอบด้วยเมตตากรุณา มีความปรารถนาดีและสงสารเห็นอกเห็นใจผู้อื่นสัตว์อื่น

๒.อทินนาทานา เวรมณี เจตนาเป็นเครืองงดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย หรือโจรอันได้แก่ ลัก ฉก ชิง วิ่งราว ขู่กรรโชก ขู่เข็ญ ปล้น จี้ ตู่ ฉ้อโกง หลอก ลวงปลอม ตระบัด เบียดบัง สับเปลี่ยน ลักลอบ ยักยอก และรับสินบนแล้วเป็นผู้มีความขยันประกอบสัมมาชีพ บริจาคทานและเคารพในกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่น

๓.กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม

บุคคลต้องห้ามสำหรับฝ่ายชาย คือ
(๑) ภรรยาคนอื่น
(๒) ผู้หญิงที่ยังอยู่ในความอุปการะของผู้อื่น(ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่นอยู่)
(๓) ผู้หญิงที่จารีตต้องห้าม (แม่ ย่า ยาย พี่สาว น้องสาว ลูกสาว ชีหญิงผู้เยาว์

บุคคลที่ต้องห้ามสำหรับฝ่ายหญิง คือ
(๑) สามีคนอื่น
(๒) ชายจารีตต้องห้าม (พ่อ ปู่ ตา พี่ชาย น้องชาย ลูกชาย พระภิกษุสามเณร ชายผู้เยาว์)

     ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงไม่ใช่เฉพาะ ห้ามแต่ร่วมสังวาสเท่านั้นแม้แต่การเคล้าคลึง การพูดเกี้ยวพาราสี หรือการแสดงอาการปฏิพัทธ์แม้แต่ด้วยสายตาเนตรสบเนตร เป็นต้น ก็ชื่อว่า การละเมิดศีลข้อนี้แล้วเมื่อไม่ล่วงละเมิดศีลข้อนี้แล้วเป็นผู้สำสวมในกามยินดีแต่ในภรรยาของตนเท่า นั้น(สทารสันโดษ) จงรักภักดีแต่ในสามีของตน (ปติวัตร)ถ้ายังไม่ได้แต่งงานก็ต้องมีกามสังวร ตั้งตนอยู่ในขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามมีวัฒนธรรมอันดีชนิดที่ว่า "เข้าตามตรอกออกตามประตู"

๔.มุสาวาทา เวรมณี เจตนา เป็นเครืองงดเว้นจากการพูดเท็จอันได้แก่คำปด ทวนสาบาน ทำเล่ห์กระเท่ห์ มารยา ทำกิเลสเสริมความสำรวมคำพูดเสียดแทง สับปลับ ผิดสัญยา เสียสัตย์ และคืนคำ แล้วเป็นผู้รักสัจจะจะพูดแต่คำสัตย์จริงด้วยความจริงใจและปรารถนาดีมุ่งหวังดีต่อผู้ฟัง

๕.สุราเมรยะมัชชะปมาทัฏฐานา เวรมณี เจตนาเป็นเครื่องงเว้นจากการดื่มน้ำเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทอันได้แก่ น้ำสุรา เมรัย เครื่องดื่มมึนเมาอื่น ๆ และการเสพยาเสพติดอื่นๆ เช่นฝิ่น เฮโรอีน กัญชา ยาบ้า หรือแม้แต่บุหรี่ แล้วเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะในการประกอบกิจการทั้งปวงและเป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิตในการงาน ในวัย ในเพศ

     ผู้จะเป็นคนเต็มคน คือ  จะต้องเป็นผู้มีการดำเนินชีวิตประจำวันที่ประกอบด้วยเบญจศีลเบญจธรรมทั้ง ๕ประเด็นดังกล่าวแล้ว ถ้าขาด ๑ ประเด็นก็เป็นคนเพียง ๘๐ % หรือขาด ๒ประเด็นก็เป็นคนเพียง ๖๐ % เป็นนับว่าเป็นหลักการขั้นพื้นฐานที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนมุ่งเน้นให้พุทธศาสนิกชนได้ประพฤติปฏิบัติตามเพื่อความเป็นมนุษย์อันจะได้เป็นสมาชิกที่ของสังคมความสงบสุขในสังคมแต่ละวันจะเกิดขึ้นได้ก็อาศัยหลักมนุษยธรรม หรือ แต่ละคนเป็นคนเต็มคนนั่นเอง




...อานิสงค์ แห่งการรักษาศีล...

ผู้รักษาศีลข้อที่ ๑ คือไม่ฆ่าสัตว์ตัวชีวิต (ไม่ทำปาณาติบาต)
ย่อมได้รับอานิสงส์ถึง ๒๓ ประการ คือ
๑. บริบูรณ์ด้วยอวัยวะน้อยใหญ่ คือร่างกายไม่พิกลพิการ
๒. มีกายสูงและสมส่วน
๓. สมบูรณ์ด้วยความคล่องแคล่ว
๔. เป็นผู้มีเท้าประดิษฐานลงด้วยดี
๕. เป็นผู้สดใสรุ่งเรือง
๖. เป็นคนสะอาด
๗. เป็นคนอ่อนโยน
๘. เป็นคนมีความสุข
๙. เป็นคนแกล้วกล้า
๑๐. เป็นคนมีกำลังมาก
๑๑. มีถ้อยคำสละสลวยเพราะพริ้ง
๑๒. มีบริษัทบริวารมิได้พลัดพรากจากตน
๑๓. เป็นคนไม่สะดุ้งตกใจกลัว
๑๔. ข้าศึกศัตรูทำร้ายมิได้
๑๕. ไม่ตายด้วยความเพียรของผู้อื่น
๑๖. มีบริวารหาที่สุดมิได้
๑๗. รูปสวย
๑๘. ทรวดทรงสมส่วน
๑๙. ป่วยไข้น้อย
๒๐. ไม่มีเรื่องเสียใจ
๒๑. เป็นที่รักของชาวโลก
๒๒. มิได้พลัดพรากจากผู้หรือสิ่งที่รักและชอบใจ
๒๓. มีอายุยืน
รักษาศีลข้อ ๑ คือไม่ฆ่า ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
มีคุณานิสงส์ ล้วนแต่น่าพอใจ ล้วนแต่ทำให้สุขใจ


ผู้รักษาศีลข้อที่ ๒ คือข้อไม่ลักทรัพย์(อทินนาทาน)
ผู้รักษาย่อมได้รับอานิสงส์ถึง ๑๑ ประการ ดังนี้
๑. มีทรัพย์มาก
๒. มีข้าวของและอาหารเพียงพอ
๓. ได้โภคทรัพย์ไม่สิ้นสุด
๔. โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ก็ย่อมได้
๕. โภคทรัพย์ที่ได้ไว้แล้วก็ยั่งยืน
๖. หาสิ่งที่ปรารถนาได้อย่างรวดเร็ว
๗. สมบัติไม่กระจัดกระจายด้วย ราชภัย โจรภัย อุทกภัย อัคคีภัย หรือญาติฉ้อโกง
๘. หาทรัพย์ได้โดยไม่ถูกแบ่ง
๙. ได้โลกุตตรทรัพย์
๑๐. ไม่เคยรู้ ไม่เคยได้ยินคำว่าไม่มี
๑๑. อยู่ที่ไหนก็เป็นสุข

ผู้รักษาศีลข้อ ๓ คือ เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร
ได้แก่เว้นจากการประพฤติผิดในการ (ไม่ทำชู้กับคู่ครองของผู้อื่น)
ได้รับอานิสงส์ผลถึง ๒๐ ประการ (ปรมตฺถโชติกา) คือ
๑. ไม่มีข้าศึกศัตรู
๒. เป็นที่รักแห่งชนทั่วไป
๓. หาข้าวน้ำเครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่ อาศัยได้ง่าย
๔. หลับก็เป็นสุข
๕. ตื่นก็เป็นสุข
๖. พ้นภัยในอบาย
๗. ไม่ต้องเกิดเป็นหญิงหรือเป็นกะเทยอีก
๘. ไม่โกรธง่าย
๙. ทำอะไรก็ทำได้ โดยเรียบร้อย
๑๐. ทำอะไรก็ทำโดยเปิดเผย
๑๑. คอไม่ตก (คือมี สง่า)
๑๒. หน้าไม่ก้ม (คือมีอำนาจ)
๑๓. มีแต่เพื่อนรัก
๑๔. มีอินทรีย์ ๕ บริบูรณ์
๑๕. มีลักษณะบริบูรณ์
๑๖. ไม่มีใครรังเกียจ
๑๗. ขวนขวายน้อยไม่ต้องเหน็ดเหนื่อย หากินง่าย
๑๘. อยู่ที่ไหนก็เป็นสุข
๑๙. ไม่ต้องกลัวภัยจากใคร ๆ
๒๐. ไม่ค่อยพลัดพรากจากของที่รัก

ผู้รักษาศีลข้อที่ ๔ คือเว้นจาการพูดปด พูดหลอกลวงปลิ้นปล้อน
ย่อมได้รับอานิสงส์ ๑๔ ประการ (ปรมตฺถโชติกา)
๑. มีอินทรีย์ ๕ ผ่องใส
๒. มีวาจาไพเราะสละสลวย
๓. มีไรฟันอันเสมอชิตบริสุทธิ์
๔. ไม่อ้วนเกินไป
๕. ไม่ผอมเกินไป
๖. ไม่ต่ำเกินไป
๗. ไม่สูงเกินไป
๘. ได้แต่สัมผัสอันเป็นสุข
๙. ปากหอมเหมือนดอกบัว
๑๐. มีบริวารล้วนแต่ขยันขันแข็ง
๑๑. มีถ้อยคำที่บุคคลเชื่อได้
๑๒.ลิ้นบางแดงอ่อนเหมือนกลีบดอกบัว
๑๓. ใจไม่ฟุ้งซ่าน
๑๔. ไม่เป็นอ่าง ไม่เป็นใบ้

ผู้รักษาศีล ๕ คือเว้นจากการเสพสุราเมรัย สารเสพย์ติดทุกชนิด
ย่อมได้รับอานิสงส์ ๓๕ ประการ (ปรมตฺถโชติการ)
๑. รู้กิจการอดีต อนาคต ปัจจุบันได้รวดเร็ว
๒. มีสติตั้งมั่งทุกเมื่อ
๓. ไม่เป็นบ้า
๔. มีความรู้มาก
๕. ไม่หวั่นไหว (ผู้ใดชวนในทางผิดไม่ร่วมมือด้วย)
๖. ไม่งุนงง ไม่เซอะ
๗. ไม่ใบ้
๘. ไม่มัวเมา
๙. ไม่ประมาท
๑๐. ไม่หลงใหล
๑๑. ไม่หวาดสะดุ้งกลัว
๑๒. ไม่มีความรำคาญ
๑๓. ไม่มีใครริษยา
๑๔. มีความขวนขวายน้อย
๑๕. มีแต่ความสุข
๑๖. มีอต่คนนับถือยำเกรง
๑๗. พูดแต่คำสัตย์
๑๘. ไม่ส่อเสียดใคร ไม่มีใครส่อเสียด
๑๙. ไม่พูดหยาบกับใคร ไม่มีใครพูดหยาบด้วย
๒๐. ไม่พูดเล่นโปรยประโยชน์
๒๑. ไม่เกียจคร้านทุกคืนวัน
๒๒. มีความกตัญญู
๒๓. มีกตเวที
๒๔. ไม่ตระหนี่
๒๕. รู้เฉลี่ยเจือจาน
๒๖. มีศีลบริสุทธิ์
๒๗. ซื่อตรง
๒๘. ไม่โกรธใคร
๒๙. มีใจละอายแก่บาป
๓๐. รู้จักกลัวบาป
๓๑. มีความเห็นถูกทาง
๓๒. มีปัญญามาก
๓๓. มีธัมโมชปัญญา (มีปัญญารสอันเกิดแต่ธรรม)
๓๔. เป็นปราชญ์ มีญาณคติ (เป็นคลังแห่งปัญญา)
๓๕. ฉลาดรู้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์และรู้ในสิ่งอันเป็นโทษ






                           เตสํ สมฺปนฺนสีสานํ      อปฺปมาทวิหารินํ

                       สมฺมทญฺญา วิมุตฺตานํ      มาโร มคฺคํ น วินฺทติ

มารค้นหาอยู่ ย่อมไม่พบทางของท่านผู้มีศีลสมบูรณ์

อยู่ด้วยความไม่ประมาท หลุดพ้น เพราะรู้ชอบ
จาก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท



ศีล เป็นเลิศในโลก 
ศีล เครื่องกั้นกิเลสอย่างหยาบ 
ศีล เป็นอาภรณ์อันประเสริฐ 
ศีล ป้องกันความโกรธ ไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่น 
ศีล เป็นของเย็น 
ศีล เป็นฐานของธรรมทั้งปวง .. 
ฯลฯ
 

อานิสงส์ของ "ศีล" 

- ย่อมรักษาทรัพย์ไว้ได้ เพราะความไม่ประมาท 
- มีกิตติศักดิ์อันงาม เรียกว่าหอมทวนลมได้ 
- องอาจ ไม่เก้อเขิน แม้ในคนหมู่มาก 
- เมื่อตายย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ 
- ไม่หลงตาย คือ ไม่ขาดสติ 
ฯลฯ 

"ศีล" ดีอย่างนี้แหละ ..



สีเลนะ สุคะติง ยันติ     สีเลนะ  โภคะสัมปะทา
สิเลนะ  นิพพุติง  ยันติ   ตัสมา   สีลัง วิโสทะเย ฯ

............................................



วันสำคัญของชาวพุทธ



วั น วิ ส า ข บู ช า
     ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน๖ วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสา - ขบุรณมีบูชา "  แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ " ถ้าปีใดมีอธิกมาสคือ มีเดือน ๘ สองครั้ง ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน ๗ 

ความสำคัญ วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนาเพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด ได้ตรัสรู้  คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง ๓ คราวคือ



เป็นวันประสูติ

     เมื่อ พระนางสิริมหามายาอัครมเหสีในพระเจ้าสุโททะนะทรงมีพระประสูติกาลคือ เจ้าชายสิทธัตถะ ณ ป่าลุมพินีวันซึ่งเป็นดินแดนระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ กับกรุงเทวทหะ ปัจจุบันเรียกว่า ตำบลรุมมินเดแขวงเปชวาร์ ประเทศเนปาล ครั้งนั้นตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีจอก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี 
  

เป็นวันตรัสรู้


    เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณ ณ ร่มพระศรีมหาโพธิบัลลังก์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี การตรัสอริยสัจสี่คือของจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ของพระพุทธเจ้า เป็นการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม ไม่มีผู้เสมอเหมือนวันตรัสของพระพุทธเจ้า จึงจัดเป็นวันสำคัญ เพราะเป็นวันที่ให้เกิดมีพระพุทธเจ้าขึ้นในโลกชาวพุทธทั่วไปจึงเรียกวันวิสาขบูชาว่า วันพระพุทธ(เจ้า) อันมีประวัติว่า พระมหา บุรุษทรงบำเพ็ญเพียรต่อไปที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดในพระทัย เรียกว่าการเข้า"ฌาน" เพื่อให้บรรลุ "ญาณ"จนเวลาผ่านไปจนถึง ...
   ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ" คือทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่น
   ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ" คือการรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย
  ยามสาม : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ" คือรู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจสี่ (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในคืนวันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งขณะนั้น พระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา

ธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ (อริยสัจ ๔) หรือความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่...
๑. ทุกข์ คือ ความลำบาก ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
๒. สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
๓. นิโรธคือ ความดับทุกข์ และ
. มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์
     ทั้ง ๔ ข้อนี้ถือเป็นสัจธรรม เรียกว่า อริยสัจ เพราะเป็นสิ่งที่พระอริยเจ้าทรงค้นพบเป็นสัจธรรมชั้นสูง ประเสริฐกว่าสัจธรรมสามัญทั่วไป

  
วันปรินิพพาน

     หลัง จากพระพุทธเจ้าองค์ทรงใช้เวลาทั้งหมดเผยแพร่พระศาสนาและสั่งสอนธรรมแก่ประชาชน จนพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษาก็เสร็จดับขันธปรินิพาน ณ สาลวโนทยาน แขวงเมืองกุสินาราแคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง กุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดียตรงกับวันอังคารขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ก่อนพุทธศักราช ๑ ปี 

     นับว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ที่เหตุการณ์ทั้ง ๓ เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งมีช่วงระยะเวลาห่างกัน นับเวลาหลายสิบปี บังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน ๖ ดังนั้นเมื่อถึงวันสำคัญเช่นนี้ ชาวพุทธทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิต ได้พร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาพระพุทธองค์เป็นการพิเศษเพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ พระปัญญาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ ของพระองค์ท่านผู้เป็นดวงประทีปของโลก


ความสำคัญของวันวิสาขบูชา
    พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จดับขันธปรินิพพานเวียนมาบรรจบในวันและเดือนเดียวกันคือ วันเพ็ญเดือนวิสาขะ จึงถือว่าเป็นวันที่สำคัญของพระพุทธเจ้า หลักธรรมอันเกี่ยวเนื่องจากการประสูติตรัสรู้และเสด็จดับขันธปรินิพพาน คือ ความกตัญญู อริยสัจ ๔ และความไม่ประมาท


ประวัติความเป็นมา

      วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนาเนื่องจากมีเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๓ อย่าง เกิดขึ้นในวันเดียวกันคือประสูติ ตรัสรู้ธรรม และปรินิพพาน วันวิสาขบูชาตรงกับวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖

     ชาวพุทธศาสนิกชนทั่วโลกต่างให้ความสำคัญกับวันวิสาขบูชา นี้ และเมื่อวันที่๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒ สหประชาชาติได้ยอมรับญัตติที่ประชุม กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลกและเป็นวันหยุดวัน หนึ่งของสหประชาชาติ เพื่อให้ชาวพุทธทั่วโลกได้มีโอกาสบำเพ็ญบุญเนื่องในวันประสูติตรัสรู้ และปรินิพพานของพระบรมศาสดา เจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติเมื่อ ๒๖๐๐ กว่าปี ล่วงมาแล้ว
     พระ บิดาพระนามว่าพระเจ้าสุทโธทนะ พระมารดาพระนามว่าพระนางสิริมหามายาก่อนที่พระองค์จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์เป็นเจ้าชายในราชสกุลโคตมะแห่งเมืองกบิลพัสดุ์ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย คำว่า 'พุทธ' หรือ 'พุทธิ' ในภาษาบาลีและสันสกฤตมีความหมายเหมือนกัน แปลว่า ปัญญา หรือ การตรัสรู้
      คำสอนในพระไตรปิฎกกล่าวว่าพระพุทธเจ้าคือผู้ที่ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงเป็นผู้รู้สัจจธรรม และทรงมีพระญาณทัศนะกว้างไกลที่พระองค์ทรงรู้เห็นกำเนิดและความเป็นไปของสัตว์โลกตลอดภพสาม มีพระพุทธเจ้านับไม่ถ้วนพระองค์ได้อุบัติขึ้นในโลกนี้เมื่อแต่ละพระองค์ตรัสรู้ธรรมอันประเสริฐแล้ว ทรงสั่งสอนธรรมะเพื่อให้ชาวโลกพ้นจากวัฏสงสารด้วยมหากรุณาจากพระไตรปิฏก "อปทานสูตร และพุทธวงศ์"กล่าวถึงการสร้างบารมีของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ นานนับอสงไขยกว่าที่จะบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ   แม้ในขุททกนิกาย ชาดก ได้เล่าการสร้างบารมีถึง ๕๔๗ ชาติของพระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญบารมี๑๐ ทัศ มาตลอดกว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในพระชาติสุดท้าย เจ้าชายสิทธัตถะทรงเป็นผู้มีบุญที่เพียบพร้อมด้วยสติปัญญา และความเมตตา หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้เพียง๗ วัน พระมารดาก็สวรรคต พระน้านางคือพระนางปชาบดีโคตมี เป็นผู้บำรุงเลี้ยงรักษา หลังจากประสูติได้ไม่นานพระบิดาได้อัญเชิญอสิตดาบสมาทำนายอนาคตของเจ้าชายสิทธัตถะ อสิตดาบสแสดงอาการประหลาดต่อหน้าพระที่นั่งคือหัวเราะและร้องไห้ หัวเราะเพราะดีใจที่ได้เห็นเจ้าชายสิทธัตถะ และได้ทำนายว่าเจ้าชายจะตรัสรู้ธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแน่นอนแต่ร้องไห้เพราะอสิตดาบสนั้นจะมีอายุไม่ยืนยาวทันรับฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า พระองค์นี้คำทำนายนี้ได้รับการยืนยันจาก โกณฑัญญะ ซึ่งเป็นดาบสอีกท่านหนึ่งที่ทำนายว่าเจ้าชายสิทธัตถะจะสละราชสมบัติ เมื่อผนวชแล้วจะบรรลุธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
      ส่วนดาบสอื่นๆ ล้วนทำนายว่า ถ้าเจ้าชายสิทธัตถะไม่ทรงผนวช จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์คำทำนายดังกล่าวสร้างความตระหนกพระทัยแก่พระเจ้าสุทโธทนะเป็นอย่างยิ่ง พระองค์ทรงปรารถนาจะให้เจ้าชายสิทธัตถะปกครองแว่นแคว้นสืบทอดราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์ และเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ จึงทรงป้องกันเจ้าชายสิทธัตถะไม่ให้เห็นความทุกข์ทรมานความเจ็บปวดต่าง ๆ ที่จะทำให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงรู้สึกเบื่อหน่าย และอยากออกบวชด้วยเหตุนี้พระเจ้าสุทโธทนะจึงทรงมีพระบัญชาให้เหล่าอำมาตย์เสนาบดี ช่วยกันสร้างปราสาทสามฤดูแก่เจ้าชาย ปราสาทแต่ละแห่งแวดล้อมด้วยเหล่าสนมกำนัลที่สวยงามชีวิตของเจ้าชายสิทธัตถะก่อนทรงออกผนวช จึงเป็นชีวิตที่เพียบพร้อมด้วย รูปสมบัติและทรัพย์สมบัติอย่างแท้จริง. เมื่อเจ้าชายทรงพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษาพระมเหสีคือพระนางยโสธรา พิมพาประสูติพระโอรส พระนามว่า ราหุล วันหนึ่งเจ้าชายสิทธัตถะได้ทรงรถม้าประพาสสวนนอกเมืองทรงเห็นคนแก่ คนป่วย คนตาย และนักบวช ภาพคนแก่ คนป่วย และคนตายทำให้พระองค์นึกถึงความทุกข์และความไม่เที่ยงแท้ของสังขารมนุษย์ ต่อมา เจ้าชายสิทธัตถะจึงทรงออกจากวัง ถือเพศเป็นนักบวชเที่ยวภิกขาจารไปเพื่อแสวงหาโมกขธรรมวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เมื่อมีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษาเจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้ธรรม ณ ใต้ควงต้นพระศรีมหาโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนที่จะบรรลุธรรมเจ้าชายสิทธัตถะได้แสวงหาผู้สอนวิธีหลุดพ้นแก่พระองค์ ๒ คนคือ อาฬารดาบสและอุทกดาบส ซึ่งทั้งสองนี้สอนพระองค์ให้ได้ญานชั้นสูง แต่ไม่บรรลุธรรมเมื่อพระองค์บรรลุธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ทรงประกาศธรรม เผยแผ่คำสอนที่สามารถทำให้ผู้ปฏิบัติตามพ้นทุกข์ตามพระองค์ไปได้พระพุทธองค์ ทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นเวลา ๔๕ ปี ทรงวางรากฐานพระพุทธศาสนา และมีพุทธศาสนิกชนจำนวนมากที่ปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ ซึ่งในสมัยนั้นมีตั้งแต่ กษัตริย์ เจ้าชาย พ่อค้าแม่ค้า พราหมณ์ เศรษฐี ยาจกเข็ญใจ และชนทุกชั้นในสังคม


ประวัติความเป็นมาของวันวิสาขบูชาในประเทศไทย

       วันวิสาขบูชานี้ ปรากฏตามหลักฐานว่า ได้มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีซึ่งสันนิษฐานว่า คงจะได้แบบอย่าง มาจากลังกา กล่าวคือ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๔๒๐ พระเจ้าภาติกุราชกษัตริย์แห่งกรุงลังกา ได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาอย่าง มโหฬาร เพื่อถวายเป็นพุทธบูชากษัตริย์ลังกาในรัชกาลต่อ ๆ มา ก็ทรงดำเนินรอยตาม แม้ปัจจุบันก็ยังถือปฏิบัติอยู่สมัยสุโขทัยนั้น ประเทศไทยกับประเทศลังกามีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนาใกล้ชิดกันมากเพราะพระสงฆ์ชาวลังกา ได้เดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา และเชื่อว่าได้นำการประกอบพิธีวิสาขบูชามาปฏิบัติในประเทศไทยด้วย

        ใน หนังสือนางนพมาศได้กล่าวบรรยากาศการประกอบพิธีวิสาขบูชาสมัยสุโขทัยไว้พอสรุปใจความได้ว่า " เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพาร ทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ตลอดทั้งประชาชนชาวสุโขทัยทั่วทุก หมู่บ้านทุกตำบล ต่างช่วยกันทำความสะอาดประดับตกแต่งพระนครสุโขทัยเป็นการพิเศษ ด้วยดอกไม้ของหอมจุดประทีปโคมไฟแลดูสว่างไสวไปทั่วพระนคร เป็นการอุทิศบูชาพระรัตนตรัย เป็นเวลา ๓ วัน๓ คืน พระมหากษัตริย์ และบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงศีล และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆครั้นตกเวลาเย็น ก็เสด็จพระราช ดำเนิน พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และนางสนองพระโอษฐ์ตลอดจนข้าราชการทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ไปยังพระ อารามหลวง เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธานส่วนชาวสุโขทัยชวนกันรักษาศีล ฟังธรรมเทศนา ถวายสลากภัตถวายสังฆทาน ถวายอาหารบิณฑบาต แด่พระภิกษุ สามเณรบริจาคทรัพย์แจกเป็นทานแก่คนยากจนคนกำพร้า คนอนาถา คนแก่ คนพิการ บางพวกก็ชวนกันสละทรัพย์ ปล่อยสัตว์ ๔ เท้า ๒ เท้าและเต่า ปลา เพื่อชีวิตสัตว์ให้เป็นอิสระ โดยเชื่อว่าจะทำให้คนอายุ ยืนยาวต่อไป"
     ในสมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ด้วยอำนาจอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์เข้าครอบงำประชาชนคนไทย และมีอิทธิพลสูงกว่าอำนาจของพระพุทธศาสนา จึงไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้มีการประกอบพิธีบูชาในวันวิสาขบูชา จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. ๒๓๖๐) ทรงดำริกับสมเด็จพระสังฆราช (มี) สำนักวัดราชบูรณะ มีพระราชประสงค์จะให้ฟื้นฟู การประกอบพระราชพิธีวันวิสาขบูชาขึ้นใหม่โดย สมเด็จพระสังฆราช ถวายพระพรให้ทรงทำขึ้น เป็นครั้งแรกในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำและวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๖ พ.ศ. ๒๓๖๐ และให้จัดทำตามแบบอย่างประเพณีเดิมทุกประการ เพื่อมีพระประสงค์ให้ประชาชนประกอบการบุญการกุศลเป็นหนทางเจริญอายุ และอยู่เย็นเป็นสุขปราศจากทุกข์โศกโรคภัย และอุปัทวันตรายต่างๆโดยทั่วหน้ากัน
     ฉะนั้นการประกอบพิธีในวันวิสาขบูชาในประเทศไทย จึงได้รื้อฟื้นให้มีขึ้นอีกครั้งหนึ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ และถือปฏิบัติมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน
     การจัดงานเฉลิมฉลองในวันวิสาขบูชาที่ยิ่งใหญ่กว่าทุกยุคทุกสมัย คงได้แก่การจัดงานเฉลิมฉลอง วันวิสาขบูชา พ.ศ.๒,๕๐๐ ซึ่งทางราชการเรียกว่างาน" ฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ " ตั้งแต่วันที่ ๑๒ ถึง ๑๘ พฤษภาคม รวม ๗ วันได้จัดงานส่วนใหญ่ขึ้นที่ท้องสนามหลวง ส่วนสถานที่ราชการ และวัดอารามต่างๆประดับธงทิวและโคมไฟสว่างไสวไปทั่วพระ ราชอาณาจักร ประชาชนถือศีล ๕ หรือศีล ๘ ตามศรัทธาตลอดเวลา๗ วัน มีการอุปสมบทพระภิกษุสงฆ์รวม ๒,๕๐๐ รูป ประชาชน งดการฆ่าสัตว์ และงดการดื่มสุราตั้งแต่วันที่ ๑๒ ถึง ๑๔ พฤษภาคม รวม ๓ วัน มีการก่อสร้าง พุทธมณฑล จัดภัตตาหารเลี้ยงพระภิกษุสงฆ์วันละ ๒,๕๐๐ รูป ตั้งโรงทานเลี้ยงอาหารแก่ประชาชน วันละ ๒๐๐,๐๐๐คน เป็นเวลา ๓ วัน ออกกฎหมาย สงวนสัตว์ป่าในบริเวณนั้น รวมถึงการฆ่าสัตว์ และจับสัตว์ในบริเวณวัดและหน้าวัดด้วย และได้มีการปฏิบัติธรรมอันยิ่งใหญ่ อย่างพร้อมเพรียงกันเป็นกรณีพิเศษ ในวันวิสาขบูชาปีนั้นด้วย

ที่มา @Sahara  จากเวป ozazic.net