จากที่มีข้อวิพากษ์วิจารย์กันหลายฝ่าย เกี่ยวกับ “พระพุทธเจ้าน้อย” ก่อให้เกิดกระแสตามมา มากมายในสังคมไทย ทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย จึงเห็นว่าควรจะได้รับรู้ประวัติ ความเป็นมา คติและบุพนิมิตในเรื่องดังกล่าว เมื่อประสูติจากพระครรภ์ พระมหาบุรุษเสด็จลุกขึ้นประทับยืนบนพื้นปฐพีทอดพระเนตรไป ทั่วทั้งสิบทิศ เสด็จดำเนินไป ๗ ก้าว มีดอกบัวผุดขึ้นรองรับพระบาท แล้วทรงเปล่งอาสภิวาจาว่า “เราจะเป็นผู้เลิศที่สุดในโลก เราจะเป็นผู้เจริญที่สุดในโลก เราจะเป็นผู้ประเสริฐที่สุดของโลก การเกิดของเรานี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้จะไม่มีภพใหม่อีก”
จากอาสภิวาจาดังกล่าว ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการสร้าง พระพุทธเจ้าน้อย หรือที่มีชื่อ เรียกเต็มๆอย่างเป็นทางการว่า "พระโพธิสัตว์ราชกุมาร" ซึ่งไม่ได้เป็นพระพุทธรูปปางใหม่แต่อย่างใด เป็นปฏิมากรที่เกี่ยวข้องกับประวัติพระพุทธเจ้าเมื่อคราประสูติจากพระครรภ์มารดา แต่เนื่องจากเป็น ความเชื่อสายมหายาน ทำให้ในประเทศไทยไม่ค่อยพบรูปปั้นหรือรูปเคารพพระพุทธเจ้าน้อยนี้มากนัก ซึ่งความจริงแล้ว สายมหายานเอง ก็เรียกว่าปางประสูติ ซึ่งแปลว่า เป็นเหตุการณ์ตอนพระนางสิริมหา มายา ประสูติเจ้าชายสิทธัตถะออกมา เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์ ก็โปรดให้สร้าง “วิหารประสูติ” ขึ้น เป็นหนึ่งในบรรดาวิหารทิศทั้งหมด ข้างในก็สร้างปางประสูตินี้ขึ้น หากจะสังเกตจะพบว่า พระประธานในอุโบสถของประเทศไทย เกือบๆ จะร้อยเปอร์เซ็นต์ เป็นปางนี้หมดปางมารวิชัยหรือชนะมารนี้ สำคัญมาก ไม่ได้สำคัญเฉพาะการที่รูปแห่งพระพุทธเจ้าแสดงกิริยาเอื้อมพระหัตถ์ขวามาแต่พื้นพระธรณี กิริยานั้นเป็นเพียงเครื่องหมายให้รู้ว่า นี่เป็นปาง คือ เป็นเหตุการณ์ตอนไหน ก็ตอนที่พญาวสวัตตีมาร ยกพลมาเพื่อขัดขวางการตรัสรู้ของนักบวชชื่อ “สิทธัตถะ” คือ เจ้าชายหนุ่มผู้ทรงสละโอกาสแห่งการเป็นพระมหากษัตริย์ ละเรือนใหญ่อันแสนสุข สบาย มาเป็นผู้ไม่มีเรือน มาครองผ้าเพียงไม่กี่ชิ้นมาครองชีวิตเรียบง่าย เมื่อมารมาขัดขวาง ท่านก็ทรง เอื้อมพระหัตถ์ขวาแตะพื้นดิน เพื่อให้แม่พระธรณีมาเป็นสักขีพยานแห่งทานบารมีที่เคยกระทำในชาติ ภพก่อนๆ ให้พญามารประจักษ์ แม่พระธรณีจึงปรากฏกายขึ้นมา แล้วบีบมวยผม จนมีสายน้ำหลาก ไหลออกมาพัดพาบริวารของพญามารแตกกระจัดกระจายไป นำความยำเกรง เลื่อมใส มาสู่พญามารกระทั่งวางอาวุธ เปลี่ยนเป็นกิริยานบไหว้ พระพุทธรูปปางนี้ จึงเตือนสติชาวพุทธให้ศึกษา ให้รู้ว่า นี่คือช่วงเปลี่ยนผ่านจากมนุษย์ผู้เป็นทาสกิเลสตัณหาอารมณ์ทั้งหลาย ไปสู่การเป็น “พุทธะ” คือผู้ตรัสรู้ ผู้อยู่เหนือเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย และเนื่องจากท่านเป็นเจ้าแห่งผู้ตรัสรู้ทั้งหลาย เราก็เรียกท่านว่า “พระพุทธเจ้า” ให้เราตระหนักว่ามนุษย์ผู้หนึ่ง เข้าถึงการ “รู้แจ้งเห็นจริง” ได้ เราทุกคนซึ่งเป็นมนุษย์ ก็พึงเดินตาม “หนทาง” ที่ท่าน เดินนำไปและตรัสบอกไว้ เราก็มีโอกาสเข้าถึงการตรัสรู้นั้น หรือเข้าถึงการหลุดพ้นนั้น เช่นเดียวกับ พระพุทธเจ้าน้อยที่เป็นคติให้เราได้ศึกษา สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่มที่ ๒๙ ได้อธิบายพระพุทธรูปปางต่างๆไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้ พระพุทธรูปสร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า และส่วน หนึ่งเพื่อบอกเล่าถึงพุทธ ประวัติว่า มีความเป็นมาอย่างไร จึงเป็นมูลเหตุของการสร้าง พระพุทธรูปเพื่อเล่าเรื่องราวในแต่ละ ตอนขึ้น ความหมายของคำว่า “ปาง” จึงหมายถึง พุทธประวัติตอนใดตอนหนึ่ง แรกเริ่มมีเพียง ๔ ปาง ตามสังเวชนียสถาน ทั้ง ๔ แห่ง ได้แก่ ปางประสูติ ปางตรัสรู้ ปางปฐมเทศนา และปางปรินิพพาน ต่อมาภายหลังจึงเพิ่มขึ้นเป็น ๘ ปาง ตามมหาสถาน ที่เพิ่มขึ้นจาก ๔ แห่ง เป็น ๘ แห่ง ที่เรียกว่า อัฏฐมหาสถาน ปางที่เพิ่มขึ้น ๔ ปาง ได้แก่ ปางทรมานช้างนาฬาคีรี ปางทรงรับบาตรจากพญาวานร ปางยมกปาฏิหาริย์ และปางเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในดินแดนไทยสมัยทวารวดีระยะแรก ได้พบหลักฐานพระพุทธรูปเพียงไม่กี่ปาง ซึ่งเป็นศิลปะ ที่สืบต่อมาจากอินเดียโดยตรง ได้แก่ ปางประทานพร ปางทรงแสดงธรรม ปางมารวิชัย และปางสมาธิ ในระยะต่อมาจึงมีการสร้างพระพุทธรูปปางอื่นๆ ทั้งที่เป็นการดัดแปลงให้เป็นแบบท้องถิ่น และที่คิดริเริ่มขึ้นใหม่ เช่น พระพุทธรูปปางทรงแสดงธรรม ทั้ง ๒ พระหัตถ์ในศิลปะทวารวดีนั้น ก็ไม่มีปรากฏ ในอินเดีย พระพุทธรูปลอยตัวปางลีลาถือว่าเกิดขึ้นครั้งแรกในศิลปะสุโขทัย และพระพุทธรูปแสดงปาง ประทานอภัย ทั้ง ๒ พระหัตถ์ที่เรียกว่า ปางห้ามสมุทร อาจเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยอยุธยา อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่สมัยทวารวดีจนถึงสมัยอยุธยา การสร้างพระพุทธรูปแสดงปางต่างๆยังมีปางอยู่ไม่ มากนัก ที่นิยมมาก ที่สุดคือ ปางมารวิชัย รองลงมาได้แก่ ปางสมาธิ และปางอื่นๆ ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงรวบรวม และเรียบเรียงตำราทาง พระพุทธศาสนาขึ้นคือ พระนิพนธ์ พุทธประวัติ เรื่อง “ปฐมสมโพธิกถา” แล้วทรงประดิษฐ์แบบอย่างพระพุทธรูปปางต่างๆขึ้นตามพุทธ-ประวัติดังกล่าว เพื่อให้ช่างสร้างเป็นพระ-พุทธรูปรวม ๔๐ ปาง ซึ่งถือเป็นการกำหนดปางต่างๆของ พระพุทธรูปมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา หลังจากนั้นมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน ได้มีการกำหนดปาง พระพุทธรูปเพิ่มเติมขึ้น หลายตำรา เช่น “พระพุทธรูปปางต่างๆ” ของหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ มีจำนวน ๕๕ ปาง ใน “ภาพพุทธประวัติวัดทองนพคุณ” เป็น ประติมากรรมนูนสูงสร้างด้วยทองเหลืองทาสี ปิดทอง มีจำนวน ๙๐ ปาง ใน “ประวัติพระ-พุทธรูปปางต่างๆ” ของกรมการศาสนา แต่งโดยพิทูร มลิวัลย์ มีจำนวน ๗๒ ปาง และ ใน “ตำนานพระพุทธรูปปางต่างๆ” แต่งโดย พระพิมลธรรม
มีจำนวน ๖๖ ปาง จากตำรา เล่มหลังนี้ ได้ปรากฏงานสร้างพระพุทธรูป รวม ๖๖ ปาง ที่พระระเบียงรอบองค์พระ-ปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
พระพุทธรูป ๔๐ ปาง ที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงกำหนดไว้และถือเป็นต้นแบบให้มีการ สร้างเพิ่มเติมต่อๆมา ประกอบด้วยปางต่างๆ ดังนี้ คือ
๑. ปางทุกกรกิริยา ๒. ปางรับมธุปายาส
๓. ปางลอยถาด ๔. ปางทรงรับ หญ้าคา
๕. ปางมารวิชัย ๖. ปางสมาธิ
๗. ปางถวายเนตร ๘. ปางจงกรมแก้ว
๙. ปางประสานบาตร ๑๐. ปางฉันสมอ
๑๑. ปาง ลีลา ๑๒. ปางประทานเอหิภิกษุอุปสมบท
๑๓. ปางปลงกรรมฐาน ๑๔. ปางห้ามสมุทร
๑๕. ปางอุ้มบาตร ๑๖. ปางภุตตกิจ
๑๗. ปางพระเกตุธาตุ ๑๘. ปางเสด็จลงเรือขนาน
๑๙. ปางห้ามญาติ ๒๐. ปางพระป่าเลไลยก์
๒๑. ปางห้ามพระแก่นจันทน์ ๒๒. ปาง นาคาวโลก
๒๓. ปางปลงพระชนม์ ๒๔. ปางรับอุทกัง
๒๕. ปางพระสรงน้ำ ๒๖.ปางยืน
๒๗. ปางคันธารราฐ ๒๘. ปางพระรำพึง
๒๙. ปางสมาธิเพชร ๓๐. ปาง แสดงชราธรรม
๓๑. ปางประดิษฐานพระ-พุทธบาท ๓๒. ปางสำแดงโอฬาริกนิมิต
๓๓. ปางรับผลมะม่วง ๓๔. ปางขับพระวักกลิ
๓๕. ปางไสยา ๓๖. ปางฉันมธุปายาส
๓๗. ปางห้ามมาร ๓๘. ปางสนเข็ม
๓๙. ปาง ทรงตั้งพระอัครสาวก ๔๐. ปางเปิดโลก
เมื่อคำว่า “ปาง” หมายถึง เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในพุทธประวัติที่สร้างขึ้นเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา ระลึกถึง หรือแม้แต่จะใช้เตือนสติตนในการดำรงชีวิต พระพุทธเจ้าน้อย ก็น่าจะเป็นปางสำคัญอีกปางหนึ่ง ที่แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจอันแน่วแน่ของมหาบุรุษ ที่เปล่ง อาสภิวาจาตั้งแต่ ประสูติออกจากครรภ์พระมารดาว่า จะต้องหลุดพ้นจากสังสารวัฏ หรือการเวียนว่ายตายเกิด จึงน่าจะ
เป็นสิ่งที่ควรส่งเสริม สนับสนุนจาก พุทธศาสนิกชน เพราะอย่างน้อยๆ เหตุการณ์สำคัญเหตุการณ์นี้ก็ เป็นจุดเริ่มต้นของศาสนาที่ยิ่งใหญ่ ศาสนาหนึ่งในโลกใบนี้ มากกว่าการจับผิดและวิพากษ์วิจารณ์ให้ เกิดความรู้สึกที่เป็นลบต่อศรัทธาของพุทธศาสนิกชนที่มีความศรัทธาและตั้งใจในการสร้างกุศลเพื่อพระพุทธศาสนาในอีกรูปแบบหนึ่ง
By palungjit